ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถออกใบกำกับภาษีได้นะ !
การที่จะออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า หรือมาใช้บริการนั้น จะต้องเป็น ‘ธุรกิจที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว’ เท่านั้นที่จะสามารถออกใบกำกับภาษีได้ แต่ถ้าหาก ธุรกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ออกใบกำกับภาษีนั้น จะถือว่าผิดกฎหมายในกรณี ‘ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก’
ในการที่จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น กรรมสรรพากรได้บอกไว้ว่า ‘ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคลใดๆ หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี’
สรุปได้ว่า การจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น คุณจะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ถ้า รายได้ต่อปีมีไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
รายละเอียดของใบกำกับภาษี
- จะต้องมีคำว่า ‘ใบกำกับภาษี’ ที่เห็นได้ชัดเจน
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ประกอบการ
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ลายเซ็นของผู้รับเงิน และลายเซ็นลูกค้า